การวางแผนเพื่อการลงทุน
การวางแผนเพื่อการลงทุน หรือ Investment Planning หมายถึงการสร้างหรือการจัดพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายและความคาดหวังที่เรากำหนดไว้ล่วงหน้า
พอร์ตการลงทุนที่ดี ไม่ควรกระจุกตัวอยู่ในสินทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดเพียงอย่างเดียว แต่ควรกระจายตัวไปในสินทรัพย์หลายประเภท
เพราะการจัดน้ำหนักสินทรัพย์ แต่ละประเภทในพอร์ตการลงทุน (Asset Allocation) มีความสำคัญมากที่สุด ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการลงทุน ซึ่งสามารถมีผลตอบแทนต่อการลงทุนถึง 90% ขณะที่การจัดวางน้ำหนักของหลักทรัพย์ (Security Selection) ที่จะลงทุนมีผลต่อผลตอบแทนเพียง 10% พูดง่ายๆคือ การเลือกประเภทของสินทรัพย์ที่จะลงทุน มีผลต่อผลตอบแทนมากกว่าน้ำหนักของหลักทรัพย์ที่ใช้ลงทุน หรืออีกนัยหนึ่ง หลักทรัพย์จำนวนมหาศาลที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง อาจให้ผลตอบแทนได้น้อยกว่าหลักทรัพย์จำนวนน้อยกว่า แต่ลงทุนกระจายไปในสินทรัพย์หลายประเภทที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า
ดังนั้น นักลงทุนที่ดีควรใส่ใจทบทวน จัดวางน้ำหนักสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นระยะๆ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับองค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การจัดพอร์ตลงทุนเป็นศิลปะ ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ต้องมีวินัยในการลงทุนอย่างเคร่งครัด จึงจะประสบความสำเร็จได้
รู้จักความเสี่ยง เพื่อรับมือความเสี่ยง
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงก็คือตัวที่จะสร้างผลตอบแทนให้กับเราและพอร์ตการลงทุนของเรา เราจะหาผลตอบแทนสูงๆ แต่ความเสี่ยงต่ำๆ ไม่ได้ในโลกนี้ แต่ถ้าจะมีอยู่บ้างก็จะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ แล้วก็หายไป เราคงเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ กับคำว่า High Risk, High Return ที่หมายถึง เสี่ยงมาก โอกาสได้รับผลตอบแทนก็สูงไปด้วย หากเราอยากได้ผลตอบแทนสูง ก็ต้องกล้าเสี่ยงบ้าง แต่สิ่งสำคัญขอให้รู้จักความเสี่ยงและรู้ว่าความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของเรามีมากน้อยเพียงใด เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจจัดพอร์ตการลงทุน ความเสี่ยงในการลงทุนมีหลายประเภท ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือความสามารถในการชำระหนี้ ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านราคาตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ ที่จะมีผลต่อการลงทุนระยะยาว ความเสี่ยงในการลงทุนมักสะท้อนอยู่ในรูปของความผันผวนของตลาด หากราคามีความผันผวนมากก็ถือว่ามีความเสี่ยงมาก หากผันผวนน้อยก็เสี่ยงน้อย โลกของการลงทุนจึงจึงนิยมวัดความเสี่ยงกันที่อัตราความผันผวน ซึ่งสินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงและความผันผวนแตกต่างกันไป จึงให้ผลแตกต่างกันไปด้วย
ความเสี่ยงหรือความผันผวนของสินทรัพย์ เรียงลำดับจากจากน้อยไปหามาก
ดังนั้น นักลงทุนที่ดีควรใส่ใจทบทวน จัดวางน้ำหนักสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นระยะๆ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับองค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การจัดพอร์ตลงทุนเป็นศิลปะ ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ต้องมีวินัยในการลงทุนอย่างเคร่งครัด จึงจะประสบความสำเร็จได้
รู้จักความเสี่ยง เพื่อรับมือความเสี่ยง
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงก็คือตัวที่จะสร้างผลตอบแทนให้กับเราและพอร์ตการลงทุนของเรา เราจะหาผลตอบแทนสูงๆ แต่ความเสี่ยงต่ำๆ ไม่ได้ในโลกนี้ แต่ถ้าจะมีอยู่บ้างก็จะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ แล้วก็หายไป เราคงเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ กับคำว่า High Risk, High Return ที่หมายถึง เสี่ยงมาก โอกาสได้รับผลตอบแทนก็สูงไปด้วย หากเราอยากได้ผลตอบแทนสูง ก็ต้องกล้าเสี่ยงบ้าง แต่สิ่งสำคัญขอให้รู้จักความเสี่ยงและรู้ว่าความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของเรามีมากน้อยเพียงใด เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจจัดพอร์ตการลงทุน ความเสี่ยงในการลงทุนมีหลายประเภท ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือความสามารถในการชำระหนี้ ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านราคาตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ ที่จะมีผลต่อการลงทุนระยะยาว ความเสี่ยงในการลงทุนมักสะท้อนอยู่ในรูปของความผันผวนของตลาด หากราคามีความผันผวนมากก็ถือว่ามีความเสี่ยงมาก หากผันผวนน้อยก็เสี่ยงน้อย โลกของการลงทุนจึงจึงนิยมวัดความเสี่ยงกันที่อัตราความผันผวน ซึ่งสินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงและความผันผวนแตกต่างกันไป จึงให้ผลแตกต่างกันไปด้วย
ความเสี่ยงหรือความผันผวนของสินทรัพย์ เรียงลำดับจากจากน้อยไปหามาก
- เสี่ยงต่ำสุด แต่ก็ให้ผลแทนต่ำสุด ได้แก่ ตราสารตลาดเงิน เช่น ตัวเงินคลังหรือเงินฝาก ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 2-2.5% ต่อปีเท่านั้น มีโอกาสได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อมาก แต่แทบจะไม่มีความผันผวนเลย
- เสี่ยงปานกลาง ให้ผลตอบแทนปานกลาง ได้แก่ พันธบัตร หุ้นกู้ ตราสารหนี้ระยะยาวต่างๆ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 4-5% ต่อปี
- เสี่ยงสูงสุด ผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ หุ้น หรือตราสารทุน สามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึงประมาณ 10-15% ต่อปีเลยทีเดีว